มาดูขั้นตอนการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกด้วยระบบ flexo หรือ printer slotter กันเถอะ ^^

Last updated: 2 เม.ย 2567  |  8839 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาดูขั้นตอนการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกด้วยระบบ flexo หรือ printer slotter กันเถอะ ^^

 

สวัสดีครับ วันนี้ผมทำ content ในหัวข้อการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกระบบ flexo หรือ printer slotter มาฝากกันนะครับ 

งานพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคออนไลน์เกือบจะสมบูรณ์ ยิ่งทำให้ความต้องการใช้กล่องบรรจุภัณฑ์มีมากขึ้นเรื่อยๆ จากกลุ่มธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์ เครื่องพิมพ์กล่องกระดาษก็ยิ่งต้องปรับตัวเเละพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาเครื่องพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกเริ่มมาจากเครื่องพิมพ์ระบบ long-way โดยในช่วงเเรกจะใช้สีน้ำมันในการทำงาน งานพิมพ์ระบบ long-way จะใช้ตัวโซ่เป็นตัวดันเเผ่นกระดาษเข้าเครื่องพิมพ์ 

 

ระบบเครื่อง : long way (เเผ่นกระดาษเข้าหน้ากว้าง)

ระบบ feed กระดาษจะเป็น : ระบบโซ่พา (ใช้ตัวโซ่ในการดันเเผ่นกระดาษ)

ระบบงานพิมพ์ : polymer (บล๊อกยางพิมพ์โพลิเมอร์)

ความละเอียด : 50-100 dpi (ด้วยตัวเครื่องที่ใช้ตัวยางเเละสีน้ำมันในการพิมพ์ ทำให้ความละเอียดจะไม่ละเอียดมากนัก)

ระบบสี : สีน้ำมัน


Printer Machine

 

 

ด้วยความที่ระบบโซ่พาเป็นระบบเก่าเเละมีเงื่อนไขทั้งด้านงานพิมพ์ที่มี error ประมาณ 3-4 mm. เเละความเร็วในการทำงานที่ล่าช้าเนื่องจากการนำเเผ่นกระดาษเข้าหน้ากว้าง ทำให้ใน 1 นาทีงานพิมพ์เเผ่นกระดาษจะได้ประมาณ 30-40 แผ่นต่อนาที เครื่องพิมพ์กล่องกระดาษจึงถูกปรับเป็นระบบ printer slotter คือระบบที่พิมพ์พร้อมกับตัดกระดาษไปในตัวเพื่อย่นระยะเวลาการทำงานลง

 

ระบบเครื่อง : printer slotter (เเผ่นกระดาษเข้าหน้ายาวเพื่อย่นระยะเวลาการพิมพ์)

ระบบ feed กระดาษจะเป็น : ระบบ kicker (ตัวดันกระดาษ ข้อดีของระบบ kicker คือพนักงานสามารถวางเเผ่นกระดาษเป็นชุดๆได้โดยที่ไม่ต้องป้อนทีละเเผ่นเหมือนระบบโซ่พา)

ระบบงานพิมพ์ : polymer (บล๊อกยางพิมพ์โพลิเมอร์)

ความละเอียด : 250-320 dpi (ใช้ลูกอนิลอคในการพิมพ์ ความละเอียดจึงสูงกว่า)

ระบบสี : สีน้ำ (การเปลี่ยนมาใช้สีน้ำทำให้งานพิมพ์มีความละเอียดเเละสวยงามยิ่งขึ้น)

** การพัฒนาจากระบบ long way มาเป็นระบบ printer slotter ทำให้ความไวในการพิมพ์กล่องกระดาษจาก maximum สูงสุด 40 เเผ่นต่อนาที กลายเป็น 160 เเผ่นต่อนาที เเถมยังสามารถตัดขอบกระดาษพร้อมกันได้เลยทำให้ save เรื่องของทั้งเวลาเเละต้นทุนการใช้เเรงงานคนได้เป็นอย่างดี

 

image

 

ระบบที่ใช้ตัวยึดเเผ่นกระดาษด้วยลูกกลิ้งในการจับกระดาษยังคงทำให้เกิด error  ประมาณ 1-2 mm. ปี 2016 งานพิมพ์กล่องกระดาษจึงหันมาใช้ระบบ vacuum (ระบบลมดูด) ในการนำกระดาษเข้าสู่เครื่องพิมพ์เพื่อลด error ของงานพิมพสีในเเต่ละป้อม ซึ่งในวันนี้ทางผมจะรีวิวงานพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูกด้วยระบบ vacuum ตัวนี้ครับ 

 

image 1

image 2 

 

 ระบบ vaccuum จะเป็นระบบลมดูดกระดาษให้ติดกับเครื่องจักร ลดโอกาสการเกิด error ของเครื่องพิมพ์เนื่องจากตัวกระดาษที่ feed เข้าเครื่องจะโดดดูดติดกับตัวเครื่องพิมพ์กล่องกระดาษก่อนจะถูกลูกกลิ้งนำส่งเข้าสู่โม่พิมพ์สี กระดาษบางรายการที่ผลิตเเล้วมีการโก่ง หรืองอลงเวลาพิมพ์จะเกิด error ด้วยระบบ vacuum นี้ก็จะลดข้อเสียตรงนี้ลงได้ครับ 

ในปัจจุบันงานพิมพ์กล่องลูกฟูกส่วนใหญ่จะนิยมระบบ flexo printing หรือเครื่อง printter slotter (ระบบงานพิมพ์สีโดยใช้บล๊อคยางโพลิเมอร์) กว่า 90% เนื่องจากปริมาณความต้องการที่สูง เครื่องพิมพ์ระบบ flexo นี้ข้อดีคือความไวในการผลิตกล่องกระดาษ เเละต้นทุนสีที่ถูกกว่าระบบอื่นทำให้ยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนมาถึงปัจจุบัน  

 เเต่ในโลกยุคใหม่ ยิ่งโลกเปลี่ยนเเปลงมาขึ้นเท่าไหร่ความต้องการของผู้คนก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ระบบงานพิมพ์ยุคเก่าอย่าง flexo จะมีข้อจำกัดเรื่องความละเอียดเเละการไล่ pantone เฉดสี ดังนั้นกลุ่มนักพัฒนาจึงพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาเป็นระบบ digital printing งานพิมพ์ระบบ 4 สี color full printing 

ระบบ digital printing จึงตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มที่เน้นงานพิมพ์เป็นหลัก เนื่องจากสามารถลบข้อจำกัดงานพิมพ์ของ flexo ได้จึงเริ่มเป็นที่นิยมในยุคสมัยใหม่

 

image 3

 

 

 

 

ภาพนี้เปรียบเทียบงานพิมพ์ทั้ง 2 ระบบครับ

ทางซ้ายเป็นงานพิมพ์ระบบ flexo หรือ printing slotting ทางขวาจะเป็นระบบ digital printing ครับ 

 

image 4 

 

 

เอาหละครับ ก่อนจะยาวไปกันใหญ่ มาดูขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์ printer slotter กันดีกว่าครับ  

 

step 1 : หลังจากเปิดเครื่องเเละปั๊มลมเเล้ว ให้กระจายโม่ทั้งหมดให้มีระยะห่างกันพอสมควร

 

image 5

 

Step 2 : วางเเผ่นกระดาษไว้ที่โม่ 1 (ตัว feeder)

Step 2.1 : ปรับตัวตบกระดาษให้เข้าหากันโดยชนกับตัวเเผ่นพอดี โดยบิดตัวปุ๋มทางซ้ายเเละทางขวา

 

image 6

image 7

 

Step 2.2 : ปรับตัวกันกระดาษให้พอดีกับความหนาของตัวกระดาษ

 

image 8

image 9

 

Step 2.3 : หมุนตัวลูกยาง feed กระดาษให้พอดีกับความหนาของลอนกระดาษ

 

image 10

image 11

 

Step 3 : วางลูกดักกระดาษให้พอดีกับความยาวเเผ่นกระดาษ เพื่อให้งานพิมพ์ไม่มี error 

 

image 12

image 13

 

Step 4 : ติดตั้งบล๊อคงานพิมพ์ กดปุ๋ม set zoro เพื่อให้ตำเเหน่งงานกลับไปเริ่มต้นที่ 0 ใหม่ หลังจากนั้นเหลือเเค่ใส่สีก็สามารถพิมพ์ได้เเล้วครับ ^^ 

 

image 14

image 15

 

 มาดูขั้นตอนการพิมพ์กันครับ จากคลิปวีดีโอจะเป็นงานพิมพ์ 2 สี เขียวใบตองอ่อนกับสีเขียวชาเชียว

กรณีพิมพ์สีทืบ จะนิยมตั้งไว้โม่เเรกครั้ง งานพิมพ์ละเอียดเช่นบาโค๊ตหรือ QR CODE จะนิยมไว้โม่ที่สอง

 

 

 

 

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ ^^ กรณีมีข้อมูลสอบถามเรื่องเทคนิคงานพิมพ์หรือสนใจเครื่องพิมพ์สามารถติดต่อได้ที่

line ID : @factory77

T : 081-8031862

 

 

 

 

 

หมวดหมู่ : นาบาเคม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้