Last updated: 17 ส.ค. 2563 | 3715 จำนวนผู้เข้าชม |
Carry handle tape เทปหูหิ้วพิมพ์โลโก้
Carry handle tape หรือเทปหูหิ้ว มีวัตถุประสงค์หลักคือการช่วยให้การยกสินค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังนำมาทดแทนตัวจับหูหิ้วแบบพลาสติกที่มีราคาสูงกว่า ส่วนใหญ่ carry handle tape หรือเทปหูหิ้วนี้นิยมใช้กับสินค้าในอุตสหกรรมเครื่องดื่มเป็นหลัก อาทิ ขวดน้ำดื่มที่บรรจุขายเป็นแพค, เครื่องดื่มกระป๋องต่างๆที่บรรจุขายเป็นซีน ต่อมาจึงเริ่มกระจายใช้ในอุตสหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลาย เช่นใช้กับกล่องลังกระดาษ, ใช้กับสินค้าบรรจุภัณฑ์กลุ่ม OTOP, ใช้กับกลุ่ม shipping และ logistic สำหรับการขนย้ายสินค้าผ่านเครื่องบิน, และกลุ่มสินค้าปลีก
นิยมใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 5-12 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการหิ้วของลูกค้า
ข้อดีของการใช้ Carry handle tape เทปหูหิ้วพิมพ์โลโก้
1. สะดวกสบายต่อการขนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 5-10 กิโลกรัม
2. ง่ายต่อการขนย้ายสินค้าบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ อาทิกล่อง TV
3. สามารถเลือกตำแหน่งการแปะเทป และความยาวเทปได้ตามความต้องการ
4. Carry handle tape มีความหนามากกว่าเทปปรกติถึง 45% เหมาะสำหรับใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนัก maximum ถึง 20 กิโลกรัม
5. ราคาถูกกว่าหูหิ้วพลาสติกถึง 200%
6. เพิ่ม Brand recognition ให้จดจำได้ง่ายขึ้น
7. เพิ่ม Brand awareness เเละ Brand loyalty ยิ่งลูกมีช่องทางในการเห็น brand ยิ่งหลากหลายเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ลูกลูกค้ามีการรับรู้ต่อ brand มายิ่งขึ้น
8. เเก้ปัญหา Pain point ในการยกสินค้าให้กับลูกค้า สินค้าที่เลือกใช้ Carry handle tape หรือเทปหูหิ้ว จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ในขณะที่สินค้ารายการอื่นๆของคู่เเข่ง ลูกค้าต้องใช้ 2 มืออุ้ม เเต่สินค้าที่ใช้ Carry handle tape ลูกค้าสามารถหิ้วจับได้อย่างง่ายดาย ทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีกว่าคู่เเข่ง
9. ความคุ้มค่าโดยรวมที่ได้รับมีประโยชน์มากกว่าการไม่ใช้เทปหูหิ้ว ต้นทุนเฉลี่ย ของเทปหูหิ้ว กรณีขนาด 2” หรือ 50mm ทั่วไป ต้นทุนอยู่เเค่ 1 บาทกว่า เเต่ลูกค้าได้ความสะดวกสบาย ได้รับรู้ถึง brand loyalty เเละความประทับใจโดยรวม
โดยปรกติ เทปหูหิ้วจะนิยมพิมพ์ 1-2 สี เนื่องจากขั้นตอนเเละกระบวนการผลิตมีขั้นต่ำที่ยุ่งยาก เเละต้นทุนของค่าบล๊อคสีจะค่อนข้างสูงทำให้ไม่นิยมพิมพ์มากกว่า 2 สี ทั้งนี้ตัวเครื่องจักรผลิต Carry handle tape เทปหูหิ้ว จะพิมพ์ได้สูงสุด 3 สี
14 ต.ค. 2567